วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ดร.ภิเษกชี้ โซเชียลมีเดีย พัฒนาการศึกษาไทยได้


แนะครูใช้เพื่อการเรียนการสอน นำทุกเครื่องมือมาปรับใช้ นักเรียนกล้าถาม แลกเปลี่ยนกับครูได้ตลอดเวลา

ดร.ภิเษก ชัยนิรันดร์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเซียล มีเดีย มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย กล่าวว่า “การนำโซเซียล มีเดีย มาใช้ในการศึกษา ถือว่าได้ประโยชน์เพราะครูสามารถสื่อสารกับนักเรียนได้ตลอดเวลา ครูควรนำทุกเครื่องมือมาใช้สร้างบทเรียนให้กับนักเรียน ประกอบด้วย การสร้างบล็อกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน การใช้เฟสบุ๊ค การใช้ทวิตเตอร์ เพื่อติดต่อสื่อสาร และให้ความรู้ผ่านโซเซียล มีเดีย นักเรียนก็กล้ามากขึ้นที่จะถามผู้สอนเมื่อใช้การติดต่อสื่อสารผ่านโซเซียล มีเดีย สำหรับการประยุกต์ใช้เฟสบุ๊คนั้น ผู้สอนสามารถสร้างกลุ่ม แล้วนำบทเรียนไปไว้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เขียนหนังสือ และสอบถามจากผู้รู้อื่น ๆ ได้อีกด้วย”

ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานบริหารหลักสูตรปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่http://www.blogger.com/img/blank.gifา “สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “Sociahttp://www.blogger.com/img/blank.gifl network ช่วยพัฒนาการศึกษาไทยได้อย่างไร” โดยได้รับเกียรติจากดร.ภิเษก ชัยนิรันดร์ ให้ความรู้ ณ ห้องประชุม 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เวลา 09.00 – 12.00 น. วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554 วิทยากรได้ให้ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนานำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร เห็นความสำคัญได้เปิดเฟสบุ๊คสาขาไว้ติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้นำเสนอบทความทางวิชาการ ประกอบด้วย เรื่อง “มหัhttp://www.blogger.com/img/blank.gifนตภัย facebook” วิทยากรโดยคุณอัมพล เจริญนนท์ เรื่อง “ครูยุคใหม่หัวใจ ICT” วิทยากรโดย คุณสุดา พงษ์สิทธิศักดิ์ เรื่อง “ระบบออนไลน์สำคัญต่อองค์กรอย่างไร” วิทยากรโดย คุณอมรรัตน์ พิณธรรม เรื่อง “ระบบ e-office ก้าวใหม่ของการศึกษาไทย” วิทยากรโดย คุณสุทธนู ดงราศี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้กว่า 60 คน.
ภาพบรรยากาศ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ดร.ภิเษก มือเซียน ชี้ Social network ช่วยพัฒนาการศึกษาไทย



สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร จัดสัมมนาวิชาการ Social network ช่วยพัฒนาการศึกษาไทยได้อย่างไร เชิญมือเซียนด้าน Social network ระดับชาติ ให้ความรู้ 25 กันยายน 2554
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานบริหารหลักสูตรปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า “สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “Social network ช่วยพัฒนาการศึกษาไทยได้อย่างไร” โดยได้รับเกียรติจากดร.ภิเษก ชัยนิรันดร์ วิทยากรมืออาชีพระดับประเทศ ด้าน Social network ให้ความรู้ ณ ห้องประชุม 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เวลา 09.00 – 12.00 น. วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554 ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย”
ด้วยพัฒนาการของ social network ที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของประชาชนในยุคปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้ด้านการธุรกิจ การสื่อสารมากขึ้น สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร จึงได้จัดสัมมนาทางวิชาการขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำแนวคิด ข้อเสนอแนะของการใช้ Social network มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการศึกษาไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้จะได้รับความรู้ และประสบการณ์ตรงของวิทยากรมืออาชีพระดับประเทศ และนำไปประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา และใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร ประกอบด้วย เรื่อง “มหันตภัย facebook” วิทยากรโดยคุณอัมพล เจริญนนท์ เรื่อง “ครูยุคใหม่หัวใจ ICT” วิทยากรโดย คุณสุดา พงษ์สิทธิศักดิ์ เรื่อง “ระบบออนไลน์สำคัญต่อองค์กรอย่างไร” วิทยากรโดย คุณอมรรัตน์ พิณธรรม เรื่อง “ระบบ e-office ก้าวใหม่ของการศึกษาไทย” วิทยากรโดย คุณสุทธนู ดงราศี สำหรับผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ http://masterudru.blogspot.com หรือโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ หมายเลข 0812611244

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีการสื่อสาร มรภ.อุดรธานีทึ่งนิเทศ จุฬาฯ



สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร ปริญญาโท เข้าร่วมงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ พร้อมดูงานคณะนิเทศศาสตร์ จุฬา เมื่อวันที่ 28 – 29 สิงหาคม 2554
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานบริหารหลักสูตรปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร นำอาจารย์และนักศึกษาปริญญา จำนวน 15 คน เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554 (Thailand Research Expo 2011 ณ โรงแรมเซ็นทรัลเวริ์ล กรุงเทพฯ จัดโดยเครือข่ายในระบบวิจัย และวช. ร่วมสร้าง “สังคมแห่งการเรียนรู้” สำหรับอาจารย์ที่ควบคุมการเดินทางในครั้งนี้ ได้แก่ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด และดร.สุภัทรา วันเพ็ญ โดยนักศึกษาได้เข้าร่วมการบรรยายจากนักวิชาการชั้นนำ ซึ่งสามารถเลือกหัวข้อเข้าฟังที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด ซึ่งนักศึกษาเข้าร่วมฟังอย่างสนใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดทำวิทยานิพนธ์ต่อไป
นอกจากนั้นยังได้เข้าศึกษาดูงาน ณ ภาควิชาวารสารสนเทศ และภาควิชาการสื่อสารมวลชน โดยมีผศ.ดร.ณรงค์ ขำวิจิตร หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ของนักศึกษา และได้บรรยายให้ความรู้เรื่องสื่อใหม่กับการพัฒนาการศึกษาให้นักศึกษาปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร อีกด้วย หลังจากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์นิวมีเดียเพื่อความเป็นเลิศโดยได้รับการต้อนรับด้วยดีจาก ผศ.ณาณัฏฐธัญ วงศ์บ้านดู่ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารมวลชน พร้อมพานำชมห้องปฏิบัติการโทรทัศน์ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีความเพียบพร้อม เป็นห้องปฏิบัติการรองรับการเรียนภาคปฏิบัติของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี.

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงเสวนาชี้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ชาวนครพนมได้ประโยชน์แน่




ห่วงเป็นแค่เมืองผ่านตามหนองคาย เร่งหามาตรการป้องกัน จัดตั้งคลังสมองชุมชนร่วมคิด ติงแผนยุทธศาสตร์จังหวัดไม่ครอบคลุม ชูจุดเด่นโลจิสติกส์สินค้าเกษตรส่งขายจีน พร้อมเร่งการท่องเที่ยวรับสะพาน

นายบวร บุปฝเวส อดีตนายกเทศมนตรีเมืองนครพนม กล่าวว่า “การเปิดสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 3 จะเป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และจีน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่จีนต้องการจากประเทศไทยคือยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวหอมมะลิ เมื่อสะพานสร้างเสร็จเราก็จะขายสินค้าโดยตรงไปยังจีนโดยไม่ผ่านเวียดนามอย่างเช่นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ได้ราคาและคุณภาพดีกว่ามาก การเตรียมรับสะพานนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วมกัน โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็น ชาวนครพนมก็ได้รวมตัวกันในภาคประชาสังคม ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อจังหวัดนครพนมชื่อกลุ่มพนมนครานุรักษ์ขึ้น แสดงทัศนะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
รศ.ดร.จำนง วงษ์ชาชม คณบดีคณะวิทยาการจัดการและเทคโนสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนมกล่าวว่า “จากการถอดบทเรียนจากวงเสวนาย่อย ๆ ของผลที่เกิดขึ้นจากสะพานมิตรภาพไทย – ลาว จังหวัดหนองคาย เพื่อให้เป็นแนวทางที่จะเตรียมความพร้อมให้กับสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม สามารถสรุปประเด็นได้ 2 ประเด็นคือ ด้านบวก พบว่าเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ มีความร่วมมือในด้านการควบคุมโรคทั้งติดต่อ และไม่ติดต่อ ป้องกันอาเสพติดริมแม่น้ำโขง ส่งเสริมการท่องเที่ยวของสองประเทศ ศึกษาดูงาน ซื้อขายสินค้า ขยายการศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอก ส่วนด้านลบ พบว่า การควบคุมการลักลอบซื้อขายสัตว์ป่าได้ลำบาก การขนส่งยาเสพติดมีหลายรูปแบบมากขึ้น การเข้าเมืองของหญิงสาวชาวลาวเพื่อค้าประเวณีเพิ่มขึ้น สินค้าด้อยคุณภาพ เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ การนำเข้าอาหารที่ขาดคุณภาพ การรับวัคซีนของชาวต่างด้าวไม่ครบทำให้เกิดโรคภัยได้ และปัญหาอาชญากรรมก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคายได้เกิดผลกระทบ ก็ควรศึกษาและนำมารับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในจังหวัด นครพนมได้
ในส่วนสถาบันการศึกษาก็ได้จัดเตรียมการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยเปิดสอนด้านการท่องเที่ยว ส่วนสาขาโลจีสติกส์นั้นยังคงมีข้อจำกัดเรื่องบุคลากร ซึ่งมีแผนที่จะเปิดสอนต่อไป
นายป้อง ขันตี นักธุรกิจเจ้าของหมู่บ้านพิมพ์พากร กล่าวว่า “การสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนมนั้น ประโยชน์ที่ตกกับท้องถิ่นสิ่งแรกคือ ราคาที่ดินรอบ ๆ สะพานมีราคาสูงขึ้น จังหวัดนครพนมต้องเตรียมบุคลากรเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาควรเตรียมการเรื่องโลจีสติกส์ สำหรับการเตรียมการของทางจังหวัด จะเห็นได้ว่ายังไม่ครอบคลุมประเด็นมากนัก โดยเฉพาะแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ซึ่งถ้าครอบคลุมก็จะสามารถป้องกันปัญหาจังหวัดนครพนมเป็นแค่ทางผ่านได้ด้วยและควรพัฒนาคนเป็นลำดับแรก ให้ความสำคัญกับการคิด กล้าที่จะคิดที่ยิ่งใหญ่ ควรมีหน่วยงานรวมศูนย์ข้อมูลด้านธุรกิจอำนวยความสะดวก และการตัดสินใจในการลงทุนให้กับนักธุรกิจ
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานบริหารหลักสูตรปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า การจัดเสวนาในครั้งนี้ จัดโดยสาขาเทคโนโลยีการสื่อสารร่วมกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม หนังสือพิมพ์ไทยนิยมและหอการค้าจังหวัดนครพนม จัดการเสวนาเรื่อง สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 3 จ.นครพนม ท้องถิ่นได้ประโยชน์อย่างไร? ขึ้น ณ ห้องประชุม โรงเรียนนครพนมวิทยาคม วันที่ 30 มกราคม 2554 เวลา 13.00 – 15.30 น. วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากนักวิชาการ และผู้ประกอบการธุรกิจในท้องถิ่น เกี่ยวกับผลดีที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นจังหวัดนครพนมเมื่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ครั้งที่ 3 เพื่อให้ท้องถิ่นได้เตรียมการในอันที่จะสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้เกิดขึ้นจากสะพานได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งผู้เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาปริญญาโท ผู้ประกอบการ นักธุรกิจในท้องถิ่น สื่อมวลชนจังหวัดนครพนม และประชาชนทั่วไป การจัดเสวนาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบัน อิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

มรภ.อุดรธานีจับมือม.นครพนมร่วมถก สะพานมิตรภาพไทย – ลาว



สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร ปริญญาโท มรภ.อุดรธานี ร่วมกับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.นครพนม หอการค้าจังหวัดอุดรธานี จัดเสวนาท้องถิ่นได้ประโยชน์อย่างไร วันที่ 30 มกราคม 2554
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีการสื่อสาร มรภ.อุดรธานี เปิดเผยว่า “สาขาเทคโนโลยีการสื่อสารร่วมกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.นครพนม หนังสือพิมพ์ไทยนิยมและหอการค้าจังหวัดนครพนม จัดการเสวนาเรื่อง สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 3 จ.นครพนม ท้องถิ่นได้ประโยชน์อย่างไร? ขึ้น ณ ห้องประชุม โรงเรียนนครพนมวิทยาคม วันที่ 30 มกราคม 2554 เวลา 13.00 – 15.30 น. โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรประกอบด้วย 1) คุณมงคล ตันสุวรรณ ประธานหอการค้าจังหวัดนครพนม 2) รศ.ดร.จำนง วงษ์ชาชม คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม 3) ผศ.ดร.ธวัช สุทธิกุลสมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 4) คุณบวร บุฝเวส อดีตนายกเทศมนตรีเมืองนครพนม”
สำหรับการจัดเสวนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากนักวิชาการ และผู้ประกอบการธุรกิจในท้องถิ่น เกี่ยวกับผลดีที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นจังหวัดนครพนมเมื่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ครั้งที่ 3 เพื่อให้ท้องถิ่นได้เตรียมการในอันที่จะสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้เกิดขึ้นจากสะพานได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งผู้เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาปริญญาโท ผู้ประกอบการ นักธุรกิจในท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมเสวนาได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด การจัดเสวนาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยและ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.